โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี
ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ เดงกี-1, เดงกี-2, เดงกี-3, เดงกี-4
ซึ่งติดต่อโดยยุงลาย
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ 100% หลังจากฉีดครบโดสแล้วก็ติดเชื้อได้ แต่จะลดอัตราการนอนโรงพยาบาลหรือความรุนแรงของโรคได้ เหมือนกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่
ป้องกันไข้เลือดออกทุกสายพันธุ์ได้สูงถึง 80.2%
ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9%
ป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4%
ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่สูง
เนื่องจากโครงสร้างของวัคซีน กระบวนการผลิตและหลักการในการผลิตของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงอาจส่งผลต่อ ข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของวัคซีน รวมไปถึงจำนวนเข็มและระยะห่างของการฉีดวัคซีนแต่ละเข็มที่แตกต่างกันโดยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่
ชนิดที่ 1 : วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดเดิม ผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 - 45 ปี สามารถฉีดได้เฉพาะคนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนเท่านั้น หากไม่มีประวัติการติดเชื้อยืนยัน ต้องทำการตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน ฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน (ที่เดือน 0, 6 และ 12)
ชนิดที่ 2 : วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ ผลิตที่ประเทศเยอรมนี ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งในคนที่เคยและไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน คือ ทุกคนสามารถฉีดได้โดยไม่ต้องทำการตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน ฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน (ที่เดือน 0 และ 3)
แนะนำให้ผู้ที่หายจากไข้เลือดออกแล้ว เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนมารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เนื่องจากหลังจากติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไว้แล้ว ซึ่งจะลดน้อยลงตามเวลาผ่านไป การฉีดวัคซีนในช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคสูง อาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้
เป็นกลุ่มเปราะบางที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออกรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น นั้นใกล้เคียงกับกลุ่มเปราะบางของโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มคนอ้วน
กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคธาลัสซีเมีย โรคเลือด โรคไต เป็นต้น
กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มนี้อาจจะมีภูมิต้นทานต่ำและมีโรคประจำตัวร่วมหลายโรค
อ้างอิง