share

ธรรมะสำหรับผู้ป่วย "หลักใจ สำหรับผู้ป่วย"

Last updated: 3 Jun 2024
85 Views
ธรรมะสำหรับผู้ป่วย "หลักใจ สำหรับผู้ป่วย"


 
ความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาของชีวิต ไม่มีใครหนีพ้นความจริงข้อนี้ไปได้ แม้พยายามป้องกันเพียงใดก็ตาม ก็ย่อมมีวันที่จะต้องล้มป่วย ในยามนั้นนอกจากการเยียวยารักษากายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือการดูแลรักษาใจ เพราะความป่วยใจมักเกิดขึ้นควบคู่กับความป่วยกาย บ่อยครั้งความป่วยใจยังซ้ำเติมให้ความป่วยกายเพียบหนักขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้การเยียวยาทางกายประสบผลดี แต่หากดูแลรักษาใจให้ดีแล้ว ความทุกข์ทรมานก็จะลดลง อีกทั้งยังอาจช่วยให้ความเจ็บป่วยทุเลาลงด้วย

ป่วยกายแต่ไม่ป่วยใจนั้น เป็นไปได้ หากรู้จักวางใจให้เป็น ยิ่งกว่านั้นใจที่มีสติและปัญญา ยังสามารถหาประโยชน์จากความเจ็บป่วยได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดความเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิต ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของสังขาร กระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท เร่งสร้างกุศล และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในขณะที่ยังมีเวลา ความเจ็บป่วยจึงสามารถเป็นปัจจัยผลักดันให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้จิตใจเจริญงอกงามและเป็นสุข

ในยามเจ็บป่วยเราจึงไม่เพียงต้องการยารักษาโรคเท่านั้น หากยังจำเป็นต้องมีธรรมโอสถเพื่อรักษาใจด้วย ข้อเขียนและคำบรรยายในหนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนคำเชิญชวนให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของธรรมโอสถและทดลองใช้กับตนเอง ยาทุกชนิด แม้ว่าเราจะรู้สรรพคุณและส่วนประกอบ แต่หากไม่นำมาใช้กับตัวเอง ก็หาเกิดประโยชน์อันใดไม่ ธรรมโอสถก็เช่นกัน เพียงแค่รู้ยังไม่พอ ต้องนำมาปฏิบัติด้วยจึงจะเกิดประโยชน์

หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการริเริ่มของคุณบัณจง ธนะแพสย์ และคณะ มีความประสงค์ที่จะพิมพ์หนังสือเผยแพร่เป็นธรรมทาน ดังที่ได้ทำมาทุกปี โดยมีคุณงามศรี สุขุมพัฒน์ เป็น ผู้ประสานงาน ในการนี้ได้รับความอนุเคราะห์ภาพปกและภาพประกอบจากคุณพันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ทำให้หนังสือน่าอ่านมากขึ้น อาตมภาพขออนุโมทนาในกุศลเจตนาและการมีส่วนร่วมในบุญของทุกท่านทั้งที่เอ่ยนามและไม่ได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้ ขอกุศลจริยาดังกล่าวจงเป็นปัจจัยอำนวยให้ทุกท่านอุดมด้วยจตุรพิธพร ประสบความสุขเกษมศานต์ และเจริญงอกงามในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

พระไพศาล วิสาโล






หลักใจ สำหรับผู้ป่วย
 ผู้ประพันธ์ ดร.แพทย์หญิงอมรา มลิลา
 พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓
 คณะบรรณาธิการ    ดร.แพทย์หญิงอมรา มลิลา
                  ดร.ขจร ธนะแพสย์
                            นางณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์


 ดาวน์โหลดได้ที่นี่    
 ๑  สาระของชีวิต
 ๒ ชีวิตเป็นอย่างนี้
 ๓ ปฎิบัติใจอย่างไร
 ๔ หลักใจสำหรับผู้ป่วย
 ๕ ป่วยแต่กาย ใจสบาย
 ๖ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส
 ๗ ก่อนชีวิตจะสิ้น
 ๘ การดูแลผู้ป่วยด้วยวิถีพุทธ
 ๙ กึ่งศควรรษบนเส้นทางธรรม ดร.ดร.แพทย์หญิงอมรา มลิลา
 ๑๐ คำตามของผู้จัดทำ

บทความที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี รับป้าย "มุมนมแม่" ในสถานประกอบกิจการ จากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ 
วันที่ 12 กันยายน 2567 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี นำโดยนายแพทย์ บรรพจน์ สุวรรณชาติผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รับป้าย "มุมนมแม่" ในสถานประกอบกิจการ จากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่ง มุมนมแม่ คือ สถานที่สำหรับให้แม่ได้ใช้ในการบีบ / ปั๊ม เพื่อ เก็บน้ำนมในที่ทำงาน เหตุผลที่ต้องมีมุมนมแม่ - เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเสียงานและช่วยให้เด็กได้กินนมแม่นานขึ้น
"การแข่งขันฟุตบอล 4 เส้า"
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี KALASIN-THONBURI HOSPITALจัดการแข่งขันฟุตบอล 7 คน   ร่วมกับทีมประชาชนทั่วไปในจังหวัดกาฬสินธุ์ณ Baiboon Academy  สนามหญ้าเทียมใบบุญ เวลา 18.00-22.00 น. ตามนโยบายให้ส่งเสริมพนักงานให้เห็นคุณค่าของการออกกำลังกายให้มากขึ้น เกิดความสามัคคีมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ห่างไกลยาเสพติด และ ได้ใช้เวลาว่างหลังเลิกงานให้เกิดประโยชน์
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี รับป้ายตราสัญลักษณ์ GLP สถานประกอบกิจการที่นำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good labour Practices : GLP) 
วันที่ 23 สิงหาคม 2567 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจัดทำระบบมาตรฐานฐานแรงงานไทยและมอบป้ายตราสัญลักษณ์ GLP สถานประกอบกิจการที่นำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good labour Practices : GLP)มาใช้ใน การบริหารจัดการด้านแรงงาน ณ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy